แบบทดสอบหลังเรียนชุด 1


    1. การกระทำใด ไม่ถือว่า เป็นหลักการ “เศรษฐกิจเชิงพุทธ

      ยุพา ใช้จ่ายทรัพย์เพื่อเลี้ยงตนเอง ครอบครัว มิตรสหาย และกิจกรรมทางสังคม
      เสาวนีย์มุ่งสร้างฐานะด้วยตนเอง
      วิภาใช้จ่ายซื้อสิ่งของตามที่ตนปรารถนา
      สุภรณ์แบ่งเงินส่วนหนึ่งช่วยเหลือสมาคมผู้สูงอายุ

    2. หลักการศึกษาตามแนวพุทธวิถี คือข้อใด

      พัฒนาการทั้งทางกาย ทางจิตใจ และทางปัญญา
      การเจริญทางการกระทำ
      การเจริญทางความคิด
      การเจริญทางสมอง

    3. การวัดว่ามนุษย์ผู้ใดเป็นผู้ประเสริฐหรือต่ำทรามกว่ากันวัดจากเรื่องใด

      ชาติกำเนิด
      ที่อยู่อาศัย
      รายได้ทางเศรษฐกิจ
      การกระทำ

    4. การใช้หลัก “จิตสิกขา” เป็นแนวทางในการจัดการศึกษา มีผลต่อผู้เรียนอย่างไร

      มีความเจริญงอกงามทางปัญญา
      รู้จักคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น
      มีความประพฤติดีงาม
      มีสุขภาพจิตที่ดี

    5. ในสมัยใดมีพระสังฆราชมากกว่า 1 รูป

      สมัยพุทธกาล
      สมัยหลังพุทธปรินิพพาน
      สมัยสุโขทัย
      สมัยกรุงศรีอยุธยา

    6. วิธีการเรียนรู้ทั่วไปของพระพุทธเจ้า วิธีการหนึ่งคือ “การเพ่งพินิจด้วยใจ” หมายความว่าอย่างไร

      การตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
      การตั้งใจจินตนาการถึงความรู้
      การใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจำได้
      การเข้าถึงความรู้ที่ถูกต้อง

    7. หลักการแก้ปัญหาตามแนวพุทธศาสนา คือหลักใด

      หลักการแก้ปัญหาโดยพี่งพิงธรรมชาติ
      หลักการแก้ปัญหาด้วยปัญญาของมนุษย์
      หลักการแก้ปัญหาด้วยการบนบานสารกล่าว
      หลักการแก้ปัญหาด้วยการนิ่งเฉย ไม่รับรู้ใด ๆ ทั้งสิ้น

    8. หลักการศึกษาได ควรเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนการสอนวิชาการต่าง ๆ

      หลักศีล
      หลักสมาธิ
      หลักปัญญา
      หลักของสัมมาทิฏฐิ

    9. ในฐานะที่เราเป็นพุทธบริษัท เราจะธำรงรักษาพระพุทธศาสนาอย่างไรถึงจะดีที่สุด

      สอนพระพุทธศาสนา
      ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนพระพุทธศาสนา
      สืบทอดพระพุทธศาสนา
      เข้าบวชในพระพุทธศาสนา

    10. ข้อใดแสดงให้เห็นว่า “พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุด”

      การประกาศพระศาสนา
      การก่อตั้งพระพุทธศาสนา
      การสั่งสอนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
      การฝึกฝนตนให้หลุดพ้นหรือเป็นอิสระเหนือกระแสโลก

    11. นักเรียนอยู่ในระยะ “ปฐมวัย” ไม่ควรประมาทในเรื่องใดเป็นสำคัญ

      การประพฤติปฏิบัติ
      การศึกษาเล่าเรียน
      การประกอบอาชีพ
      การทำบุญกุศล

    12. องค์ประกอบของการศึกษาทางพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 3 ประการคืออะไร

      ศีล สมาธิ ปัญญา
      พัฒนากาย พัฒนาจิต พัฒนาปัญญา
      ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
      ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้แจ่มใส

    13. ตามหลักพระพุทธศาสนา “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ควรพัฒนาสิ่งใดก่อน

      พัฒนาตนเอง
      พัฒนาครอบครัว
      พัฒนาสังคม
      พัฒนาประเทศ

    14. กระบวนการจัดการศึกษาตามหลัก “ศีลสิกขา” มีผลต่อผู้เรียนอย่างไร

      มีความเจริญงอกงามทางปัญญา
      รู้จักคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น
      มีระเบียบวินัยที่ดีงาม
      มีสุขภาพจิตที่ดี

    15. ข้อใดเป็นหลักการแก้ปัญหาตามแนวพระพุทธศาสนา

      นิโคลสวดมนต์ภาวนาให้เทปเพลงขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
      นิกกี้บนหัวหมูให้สอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้
      สมรักษ์วิ่งแก้บนที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก
      ศรรามคิดหาวิธีการที่จะประชาสัมพันธ์เทปเพลงชุดใหม่

    16. คำว่า “คนตำราเปล่า” หมายความว่าอย่างไร

      รู้แต่ทฤษฎีแต่ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้
      รู้ทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
      รู้แต่ทางปฏิบัติแต่ไม่รู้ทฤษฎี
      ไม่มีความรู้ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี

    17. ใครเป็นองค์ปฐมในการบริหารทางพระพุทธศาสนา

      พระพุทธเจ้า
      พระอัญญาโกณทัญญะ
      พระสารีบุตร
      พระมหากัสสปะ

    18. การศึกษาในระดับ “โลกิยะ” มีความมุ่งหมายเพื่ออะไร

      เพื่อดำรงชีวิตในทางโลก
      เพื่อดำรงชีวิตอยู่เหนือกระแสโลก
      เพื่อดำรงชีวิตที่เป็นอิสระ
      เพื่อดำรงชีวิตให้หลุดพ้นจากกระแสโลก

    19. ข้อใด ตรงกับคำว่า “หลักของเหตุปัจจัย”

      ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอย ๆ ต้องมีสาเหตุของการเกิดขึ้น
      สิ่งทั้งหลายมีอยู่ต้องอิงอาศัยกัน
      สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นโดยไม่อิงอาศัยปัจจัยอื่น แต่เกิดขึ้นมาโดด ๆ
      สิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นต้องอาศัยปัจจัยหลายปัจจัย

    20. ความไม่ประมาท ต้องมีหลักธรรมใดเป็นสำคัญ

      ความเพียร
      ความอดทน
      สติ สัมปชัญญะ
      หิริ โอตัปปะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น